เทศบาลตำบลพรรณานคร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร : www.pnk.go.th
 
 
จำนวนผู้เข้าชม
จำนวน คน
ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2562

ศักยภาพในตำบล

ศักยภาพในตำบล

   ก. ศักยภาพของเทศบาลตำบลพรรณานคร

        ผู้บริหารและผู้ช่วย         จำนวน        5    คน

        สมาชิกสภาเทศบาล    จำนวน      12    คน

        พนักงานเทศบาลและพนักงานจ้าง   จำนวน    41     คน         

ประกอบด้วย

            - พนักงานเทศบาล         จำนวน        20    คน

            - พนักงานจ้าง            จำนวน         10    คน

            - ลูกจ้าง/คนงาน            จำนวน        11    คน

รายได้ของเทศบาลตำบลพรรณานคร ประจำปีงบประมาณ 2557   จำนวน 20,447,793  บาท แยกเป็น

ยานพาหนะเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน

        -      รถยนต์            2        คัน

        -      รถจักรยานยนต์        2        คัน

        -      รถขยะ            1        คัน

        -      รถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์          1        คัน

    ข.ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่

     การรวมกลุ่มของประชาชน

        - กลุ่มอาชีพ        13        กลุ่ม

        - อปพร.            171         คน

        - อสม.            131        คน   

     จุดเด่นของพื้นที่    มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ คือ

        พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ตั้งอยู่บริเวณวัดป่าอุดมสมพร หมู่ 4 บ้านนาหัวช้าง ต.พรรณา  อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตามเส้นทางสกลนคร-อุดรธานี  จากสกลนครถึงอำเภอพรรณานิคมประมาณ  39  กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือเข้าไป  ตัวอำเภอพรรณานิคมวัดป่าอุดมสมพรห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ  2 กิโลเมตร พระอาจาร์ฝั้น อาจาโร  กำเนิดในสกุลสุวรรณวงศ์ เมื่อวันที่  20  สิงหาคม  2442  ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคมและได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ  19 ปี  ณ วัดโพนทอง  จนอายุครบ  20  ปี  จึงอุปสมบทในพุทธศาสนาฝ่ายมหานิกาย  ต่อมาท่านได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนา  พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต เป็นครั้งแรกที่บ้านม่วงไข่นี้จนเกิดความศรัทธาเลื่อมใส  จนเมื่อ พ.ศ. 2468  ท่านได้ทำการอุปัชฌาเป็นพระคณะธรรมยุติ    วัดโพธิสมภารอำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  พร้อมทั้งถวายตัวเป็นลูกศิษย์ติดตามพระอาจารย์มั่น

        พระอาจารย์ฝั้น  อาจาโร มรณภาพเมื่อวันอังคารที่ มกราคม  2520  รวมอายุได้  72  ปี  ด้วยความดีของท่าน  ถึงแม้ท่านจะมรณภาพแล้ว  สานุศิษย์ทั้งหลายผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสได้บริจาคทรัพย์สร้างพระเจดีย์พิพิธภัณฑ์เป็นรูปเจดีย์ฐานกลม  กลีบบัวสามชั้น ปลายแหลม  ตัวตั้งอยู่บนเนินดินที่ขุดจากบริเวณใกล้เคียงยกสูงขึ้น  บริเวณด้านหน้าเป็นสระน้ำขนาดใหญ่และบริเวณรอบๆ  ตกแต่งด้วยสวนหย่อมมีต้นไม้ขึ้นร่มเย็นภายในบริเวณกลางพิพิธภัณฑ์  ประดิษฐานรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้น  มีท่านั่งห้อเท้า และถือไม้เท้าไว้ในมือด้านหน้าพระรูปตกแต่งด้วยเครื่องบูชาและตู้กระจกบรรจุอัฐิ  ด้านฝาผนังเป็นตู้แสดงเครื่องอัฐบริขารที่ท่านใช้เมื่อยามมีชีวิต  และประวัติความเป็นมาตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ